top of page

ตัวอย่างการบริหารจิตและเจริญปัญญา

          พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เน้นเรื่อง การฝึกควบคุมการ วาจาและจิตใจไปพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าเมื่อกาย วาจา สงบนิ่ง และควบคุมจิตให้สนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นตามมา การควบคุมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เรียกว่า ศีล การควบคุมจิตให้สนใจสนใจเพียงเรื่องเดียว เรียกว่า สมาธิ ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง เรียกว่า ปัญญา ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา กล่าวเฉพาะสมาธิและปัญญา พระพุทธศาสนาได้แสดงวิธีควบคุมที่เรียกว่า การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ไว้หลายวิธีความหมายของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา 

 

         การบริหารจิต หมายถึง การบำรุงรักษาจิตให้มีความเข็มแข็ง มีพลังและมีประสิทธิภาพปกติจิตของบุคคลทั่วไป จะซัดส่ายไปตามสิ่งที่มากระทบอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการกวัดแกว่ง เหนื่อยล้า วิธีบำรุงรักษา คือ การทำให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ไม่คิดถึงเรื่องอื่นในขณะนั้น ซึ่งเรียกว่า จิตเป็นสมาธิจิตที่มีภาวะเช่นนี้ ทางพระพุทธศาสนาถือว่า “เป็นจิตที่เหมาะแก่การใช้งาน” บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นคนที่พัฒนาแล้วจะต้องเป็นบุคคลที่ผ่านการฝึกสมาธิและเจริญวิปัสสนามาอย่างครบถ้วน

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗

คลังความรู้

bottom of page