top of page

คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

ฺิิฺิิิจริต คือ ธาตุแท้ของใจ หรือปกติของใจที่โน้มเอียง เช่น โกรธง่าย ฯลฯ

จริตในพระพุทธศาสนา แสดงไว้ 6 ประเภทได้แก่

         ราคะจริต คนประเภทนี้มีราคะเป็นปกติของใจ ชอบของสวย ของงาม หน้าตายิ้มแย้ม เรียบร้อย โลภ ถือตัว ลบหลู่คุณคน ชอบหวาน กินช้า


         โทสจริต คนประเภทนี้โกรธง่าย มักหงุดหงิด ทำอะไรรวดเร็ว ใจร้อน ริษยา ไม่เรียบร้อย ชอบเปรี้ยว กินเร็ว

 

         โมหจริต คนประเภทนี้ มีโมหะเป็นปกติของใจ มักเป็นคนเขลา งมงาย เชื่องช้า รู้ช้า ดื้อรั้น ไม่แน่ใจ ชอบรสไม่แน่ กินจุ

 

         วิตกกจริต คนประเภทนี้ มีความดำริตริตรอง เป็นปกติของใจ มักเป็นคนคิดฟุ้งซ่าน ใจนิ่งอยู่ยาก คิดมากเกิดไป พูดมาก ชอบมั่วสุม เกียจคร้าน

 

         สัทธาจริต คนประเภทนี้ มีความเชื่อเป็นปกติของใจ เป็นคนซื่อ ไม่มีแง่งอน เชื่อง่าย ไม่เป็นตัวของตัวเอง สอนง่าย

 

         พุทธิจริต คนประเภทนี้ เป็นคนเฉลียวฉลาด เชื่อยาก เจ้าความคิด กินน้อย ขยัน พูดเข้าใจง่าย

 

สติปัฎฐาน 4 แปลว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ 4

 

พระ โสดาบัน คือ ยังสามารถมีครอบครัวได้ มีโกรธ แต่ไม่ผูกใจเจ็บ โกรธแล้วก็แล้วกัน มีศีลประจำใจ แม้ตายก็ไม่ยอมล่วงละเมิด ละความเห็นว่ากายเป็นของตน ละความสงสัยในพระรัตนตรัย ละการถือเอาการรักษาศีลและการประพฤติวัตรพิเศษ เช่นไหว้พระทุกวัน เป็นเครื่องมืออธิษฐานขอให้ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น (ตราบใดที่ยังอธิษฐานว่า เจ้าประคู้ณ ด้วยคุณศีล หรืออนิสงส์….. ขอให้ได้เช่นนั้นเช่นนี้เถิด ดังนี้ ตราบนั้นอย่าเพ้อฝันเป็นพระโสดาบัน)

พระสกิทาคามี คือ เหมือนอย่างพระโสดาบัน แต่มีกิเลสอื่นเบาบางกว่า และเกิดใหม่อีกชาติเดียวเท่านั้น ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระโสดาบันอาจเกิดใหม่อีกหลายชาติ แต่ไม่เกิน 7 ชาติ จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์

พระอนาคามี คือ บุคคลที่ละราคะ โทสะได้เด็ดขาด

กรรม คือ  การกระทำ (เป็นคำกลาง)

         การคิด เรียกว่า มโนกรรม

         การพูด เรียกว่า วจีกรรม

         การเดินนั่ง เรียกว่า กายกรรม
 
         ทำดีเรียกว่า กุศลกรรม

         ทำชั่วเรียกว่า อกุศลกรรม

         ทำไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า อัพยากตกรรม


ปาฏิหาริย์ คือ การกระทำที่แปลกประหลาดน่าทึ่ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องปาฏิหาริย์ไว้ 3 ประเภทได้แก่

อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องแสดงฤทธิ์โดยใช้อำนาจจิต อีกสองประเภทนั้นพระพุทธเจ้าทรงใช้ประกอบในการสั่งสอนประชาชน


อาเทสนาปาฏิหาริย์

 

                                              ทรง แสดงว่า อิทธิปาฏิหาริย์นั้นสู้ 2 ประเภทหลังไม่ได้ เพราะมักทำให้คนส่วนมากติด                                               หลง ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส พระองค์ทรงห้ามพระสาวกแสดงอิทธิ                                                     ปาฏิหาริย์กันเอง (นอกจากทรงอนุญาต) ส่วน อีก 2 ประเภทนั้น ทำให้หลุดพ้นจาก                                                   ความติดหลง งมงาย ละกิเลสได้

อนุสสาสนีปาฏิหาริย์  


      เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์เป็นผลพลอยได้จากสมาธิจิต ในพระพุทธศาสนาถือแต่เพียงเป็นเรื่องประกอบ แม้ไม่มีเรื่องนี้พระพุทธศาสนาก็อยู่ได้

 

ไสยา คือ การนอน พระพุทธองค์ได้ทรงสอนว่าการนอน มี 4 ประเภท ได้แก่

          เปตไสยา นอนอย่างเปรต หรือคนตาย คือ นอนหงาย
          กามโภคีไสยา นอนอย่างชาวบ้านทั่วไป คือ นอนตะแคงซ้ายและนอนคว่ำ
          สีหไสยา นอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา
          ตถาคตไสยา นอนอย่างพระตถาคต คือ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้ามือขวาหนุนศีรษะ

 

วิธีแก้ง่วง อาจเกิดจากเหตุหลายประการ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย กินมากเกินไป แก้ดังนี้

เมื่อคิดสิ่งใดในขณะง่วง ให้สนใจในสิ่งนั้นให้มากยิ่งขึ้น


          ถ้ายังง่วงอยู่ ให้พิจารณาตรึกตรอง สิ่งที่ตนเคยฟัง เคยเรียนมาให้มากๆ

 

          ถ้ายังง่วงอยู่ ก็ให้ท่องเรื่องที่ตนได้ยิน หรือเรียนมา

 

          ถ้ายังง่วงอยู่ พึงยอนหูทั้งสองข้าง ตาก็จะสว่าง

 

          ถ้ายังง่วงอยู่ให้ลุกขึ้นยืน ใช้น้ำลูบหน้า มองดูทิศ ดูดาว

 

          ถ้ายังง่วงอยู่ พึงทำใจให้สว่าง ไสว

 

          ถ้ายังง่วงอยู่ จงอธิษฐานเดินจรงกรม กลับไปกลับมา

 

 

ตัวอย่างวิดิโอคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

คลังความรู้

bottom of page