top of page

วิธีบริหารจิตและเจริญปัญญา

การบริหารจิตเจริญปัญญา เป็นการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติจนเห็นผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งโน้มน้าวและถ่ายทอดให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติตามโอวาท 3 คือ เว้นชั่ว ทำดี ฝึกจิตให้ผ่องใสบริสุทธิ์ ซึ่งขยายความได้ดังนี้


                                                                                                                     เว้นชั่ว------------>ด้วยการรักษาศีล
                                                                                                               ทำดี----------------->โดยประพฤติธรรม
                                                    ฝึกจิตให้ผ่องใส------------------------->ด้วยการฝึกสติ บริหารจิต เจริญปัญญา

 

รักษาศีล

-ไม่ ฆ่าไม่เบียดเบียนกัน
- ไม่ลักขโมย
-ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักและหวงแหน
-ไม่พูดเท็จ (เว้นวจีทุจริต) 
-ไม่เสพของเสพติดให้โทษ

                      

ประพฤติธรรม

- ประกอบสัมมาชีพ  

- มีเมตตากรุณา
- สำรวมในกาม 
- รักษาสัจจะ 
- มีสติสัมปชัญญะ

 

บริหารจิตเจริญปัญญา

ฝึกสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ 

- ระลึกรู้ในกาย (กายานุปัสสนา)
- ระลึกรู้ในเวทนา (เวทนานุปัสสนา) 
- ระลึกรู้ในจิต (จิตตานุปัสสนา)
- ระลึกรู้ในธรรมะ (ธัมมานุปัสสนา)

 

ประโยชน์ของการบริหารจิตเจริญปัญญา(ฝึกสติปัฏฐาน 4)

. รู้จักตนเอง / เข้าใจตนเอง2๒ เข้าใจธรรมชาติ
.มีและอยู่กับเหตุผล
.ไม่หวั่นไหวในสุข / ทุกข์
. สิ้นทุกข์โดยปราศจากตัวตนและความยึดมั่น

 

         ความหมายของการเจริญปัญญา คือ   การฝึกจิตใจให้เกิดปัญญาโดยให้มีสติรู้เท่าทันสภาวธรรมที่เกิดขึ้นที่จิตตามความเป็นจริง มิให้จิตยินดียินร้ายไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต ซึ่งเป็นการฝึกจิตให้เข้มแข็งให้เป็นอิสระจากอาสวกิเลสที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้ง 6 สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเจริญปัญญาก็คือ การฝึกจิตให้มีสติสัมปชัญญะ

 

ปัญญา แปลว่า ?

 

ปัญญา  แปลว่า  ความรู้  คือ  ความรอบรู้  ได้แก่  รู้รอบ  และรู้สึก  คำว่ารู้รอบ  หมายถึง  รู้เป็นระบบ  รู้ว่าสิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เห็นความสำพันธ์ระหว่างเหตุและผลว่าปัญหาต่างๆ  มีสาเหตุหรือเกิดจากเหตุใด  ส่วนรู้สึก  คือ  ความรู้ที่มองเห็นว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าหรือเบื้องหลังนั้นมีสาเหตุหรือความเป็นมาอย่างไร


   ประเภทของปัญญา


          พระพุทธศาสนาแบ่งแหล่งกำเนิดของความรู้หรือปัญญาออกเป็น  ๓  ประการ  ได้แก่
๑)  สุตมยปัญญา  :  ปัญญาที่เกิดจากการฟัง  หมายถึง  ปัญญาที่เกิดจากการเล่าเรียนหรือการฟัง  เป็นการรับรู้ข้อมูลจากแหล่งความรู้ภายนอก
๒)  จิตตามยปัญญา  :  ปัญญาที่เกิดจากการคิด  หมายถึง  ปัญญาที่เกิดจากการคิด  การพิจารณาหาเหตุผล  ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของจิตภายในตัวเรา
๓)  ภาวนามยปัญญา  :  ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ  หมายถึง  ปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ  ซึ่งต้องผ่านการลองผิดลองถูก

 

ประโยชน์ของปัญญา


๑)  ทำให้วินิจฉัยเรื่องราวต่างๆได้ถูกต้องจะรู้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกสิ่งใดมีคุณสิ่งใดมีโทษต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องตัดสินถ้ามีปัญญาน้อยโอกาสที่จะตัดสินถูกก็ย่อมมีน้อย
)  ทำให้มองสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ย่อมเกิดจากหลายเหตุหลายปัจจัยรวมกันไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆโดยไม่มีเหตุบางเรื่องมีเหตุสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่งคนมีปัญญาเท่านั้นจึงจะสามารถมองทะลุโดยตลอดได้อย่างหมดข้อสงสัย
)  ทำให้แก้ปัญหาชีวิตได้คนมีปัญญาแม้ว่าจะประสบความทุกข์ใหญ่หลวงมากเพียงใดก็สามารถใช้ปัญญาผ่อนคลายความทุกข์และแก้ไขให้หมดไปได้
)  ทำให้รู้ทางเสื่อมและทางเจริญคนมีปัญญาจะมองเห็นว่าสิ่งนี้เป็นทางแห่งหายนะจึงละเว้นไม่ยอมเอาชีวิตไปเสี่ยงด้วย
)  ทำให้สร้างฐานะเป็นปึกแผ่นได้คนมีปัญญาแม้จะยากจนขัดสนในเบื้องต้นก็ใช้ปัญญาช่วยในการทำมาหาเลี้ยงชีพและประสบความสำเร็จได้
)  ทำให้เข้าใจโลกและชีวิตและมีความเมตตากรุณาต่อคนทั่วไป  
)  ทำให้เป็นคนมีเหตุผลมีใจกว้างยอมรับฟังคนอื่น คนมีปัญญาจะเรียนรู้อยู่เสมอยอมรับคำแนะนำและความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่  เป็นคนมีเหตุผล

 

สมาธิ

 

สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึง ภาวะที่จิตคิดจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวในระยะเวลาหนึ่ง เช่น การอ่านหนังสือ ขณะอ่าน จิตจดจ่ออยู่กับเรื่องที่อ่านไม่ฟุ้งซ่านคิดถึงเรื่องอื่น เป็นต้น

ประเภทของสมาธิ แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ดังนี้
 ๑)  สมาธิที่มีโดยธรรมชาติ  คือ  สมาธิที่มีมาเองโดยไม่ต้องฝึก  ทุกคนจะมีมากมีน้อยแล้วแต่บุคคล เช่น เวลาอ่านหนังสือ อ่านรู้เรื่องดี  สนุกสนานเพลิดเพลินกับการอ่าน เพราะมีสมาธิ สมาธิโดยธรรมชาตินี้มิใช่ว่าจะมีทุกเวลา จะมีก็ต่อเมื่อเราตั้งใจจดจ่อต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้า  เมื่อเลิกตั้งใจสมาธิก็จะไม่มี
 )  สมาธิที่ต้องพัฒนา หมายถึง สมาธิที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ การพัฒนาสมาธิที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาตินั้นให้ถูกวิธี เพื่อให้มีพลังมากกว่าเดิม จะได้นำไปใช้ในกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประโยชน์ของสมาธิ


๑)  ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  เช่น  ทำให้ผ่อนคลาย หายเครียด ลดความวิตกกังวล ความหวาดกลัว
)  ช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพ เช่น ทำให้เป็นผู้มีความมั่นคงในอารมณ์ บุคลิกเข้มแข็ง มั่นคง
)  เป็นจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา หมายถึง สมาธิที่แนบแน่น มั่นคง จะทำให้มีความสงบ แน่วแน่ สามารถระงับกิเลส และพร้อมจะก้าวสู่ความมีปัญญา รู้แจ้งในความจริง

 

การเจริญปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ
  โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หมายถึง การใช้ความคิดที่ถูกวิธี กล่าวคือ มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิด  พิจารณาสืบค้นคิดหาเหตุผล ตลอดจนแยกแยะและวิเคราะห์ปัญหาด้วยปัญญา  มองปัญหาตามความเป็นจริง หรือมองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
  ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงสอนว่าการศึกษาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบและรอบด้าน จนเข้าใจปัญหาต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง เรียกว่า การคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งมี ๑๐ วิธีคิดด้วยกัน แต่ในชั้นเรียนนี้นักเรียนจะได้ศึกษาวิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม และวิธีคิดแบบคุณโทษ  และทางออก


การคิดแบบโยนิโสมนสิการ มี ๑๐ วิธีคิดด้วยกัน คือ


)  คิดแยกแยะส่วนประกอบ
) คิดแบบคุณโทษและทางออก
)  คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
)  คิดแบบสัมพันธ์หลักกับเป้าหมาย
)  คิดแบบแก้ปัญหา
)  คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา
)  คิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม
)  คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม
)  คิดแบบอยู่ในปัจจุบัน
๑๐)  คิดแบบแยกประเด็น

การเจริญปัญญาคืออะไร

คลังความรู้

bottom of page