top of page

ความสำคัญของการสัมมนา

 

         การเมืองในโลกเป็นเรื่องของการแบ่งสรรผลประโยชน์และอำนาจ การเมืองทางโลกจึงเป็นการแสดงพลังอำนาจทุก ๆวิถีทางเพื่อจะได้เหนือคู่ต่อสู้อันจะทำให้สามารถแย่งชิงผลประโยชน์ในสัดส่วนที่มากกว่าคนอื่นเพราะหตุแห่งการมีกำลังอำนาจมากกว่าคนอื่น พระพุทธศาสนากลับมีแนวคิดตรงข้ามกับการแสวงหาอำนาจที่มากกว่าผู้อื่น แต่มุ่งเน้นในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข วัตถุประสงค์ของพระพุทธศาสนาก็เพื่อรับใช้และเอื้อประโยชน์แก่มนุษยชาติ ตามทัศนะของชาวพุทธ การพยายามทำให้คนอื่นกลับใจหันมานับถือศาสนาพุทธไม่ใช่เป็นภารกิจอันสำคัญอะไร และไม่สามารถเทียบเท่าได้กับการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ พระพุทธองค์ทรงอุทิศพระองค์เป็นแบบอย่างให้พุทธศาสนิกชนได้เห็นถึงความเป็นผู้มีความพอพระทัย และความอดทน ในการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับชาวโลกอย่างเสียสละ พระพุทธองค์ให้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เป็นสำคัญ

 

ก. รู้หลักอธิปไตย คือ รู้หลักความเป็นใหญ่ที่เรียกว่า อธิปไตย 3 ประการ ดังนี้


  1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ของตนเป็นใหญ่ ฝ่ายที่เป็นกุศลในด้านนี้คือ การเว้นจากการทำความชั่ว มุ่งทำความดีด้วยการเคารพตนเอง
  2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมของชาวดลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทา สรรเสริญ เป็นต้น ฝ่ายที่เป็นกุศลได้แก่ เว้นจากการทำชั่ว มุ่งทำความดีด้วยการเคารพเสียงของชนหมู่มาก
  3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผลเป็นใหญ่ กระทำด้วยการคำนึงถึงสิ่งที่ได้ศึกษา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักพิจารณาอย่างถ่องแท้ ตามกำลังสติปัญญา และมุ่งคิดพิจารณาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นไปโดยชอบธรรม และเพื่อความดีงาม ตามหลักโดยทั่วไปได้แก่ การรู้จักเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา และข้อบังคับทางสังคมหรือองค์กรนั้น ๆ ดังนั้นหากเราต้องการถือเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ จะต้องยึดหลักของธรรมาธิปไตย โดยมิได้ถือตนหรือถือโลกเป็นใหญ่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข. มีส่วนในการปกครอง โดยปฏิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว ที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม 7 (condition of welfare) 

อปริหานิยธรรมนี้เป็นหลักธรรมสำหรับใช้ในการปกครอง เพื่อป้องกันมิให้การบริหารหมู่คณะเสื่อมถอย แต่กลับเสริมให้เจริญเพียงส่วนเดียว สามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมู่ชนและผู้บริหารบ้านเมือง ดังนี้คือ

 

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการประชุมพบปะปรึกษาหารือกิจการงานต่าง ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันโดยสม่ำเสมอ 
  2. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการประชุมและการทำกิจกรรมทั้งหลายที่พึงกระทำร่วมกัน หรือพร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันบ้านเมือง 
  3. ไม่บัญญัติ หรือล้มเลิกข้อบัญญัติต่าง ๆ เป็นการไม่เพิกถอน ไม่เพิ่มเติม ไม่ละเมิดหรือวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันมิได้ตกลงบัญญัติไว้ และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้เป็นธรรมนูญ
  4. ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ยาวนาน ดังนั้นเราต้องให้เกียรติ ให้ความเคารพนับถือ และรับฟังความคิดเห็นของท่านในฐานะที่เป็นผู้รู้และมีประสบการณ์มามาก
  5. ไม่ข่มเหงสตรี เป็นการให้เกียรติและคุ้มครองสตรี มิให้มีการกดขี่ข่มเหงรังแก
  6. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ คือการให้ความเคารพศาสนสถาน ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่องเตือนความจำ ปลุกเร้าให้เราทำความดี และเป็นที่รวมใจของหมู่ชน ไม่ละเลยพิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานที่สำคัญเหล่านั้นตามประเพณีที่ดีงาม
  7. ให้การอารักขาพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทรงศีล เป็นการจัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครอง อันชอบธรรม แก่บรรพชิต ผู้ทรงศีลทรงธรรมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน เต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก

 

ตัวอย่างเช่น

 

       พระพุทธเจ้าเสด็จไปห้ามพระญาติฝ่ายศากยะและฝ่ายโลกิยะ พระญาติทั้งสองฝ่ายวิวาทกันโดยการแย่งน้ำในการทำนาจนถึงกับจับอาวุธเพื่อรบฆ่ากัน ถ้าพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าพระองค์เป็นนักบวชตัดขาดทางโลกแล้วไม่ต้องสนใจสภาพสังคม พระญาติทั้งสองฝ่ายก็ต้องประหัตประหารกันประชาชนก็จะต้องเดือดร้อน ประเทศก็ต้องขาดสันติสุข แต่พระพุทธเจ้าทรงกลับเห็นว่า ถ้าเสด็จมาห้ามปราม ประโยชน์สุขก็จะเกิดแก่ทุกฝ่าย พระญาติทั้งสองฝ่ายก็คงจะไมตรีต่อกันได้เหมือนเดิม ประชาชนก็จะเป็นสุข ดังนั้นจึงเสด็จไปห้ามพระญาติทั้งสองฝ่ายตรัสพุทธโอวาทเพื่อเตือนสติว่า ราคาของน้ำไม่สำคัญเท่าความเป็นญาติ ทำให้พระญาติทั้งสองฝ่ายคิดได้ จึงเลิกวิวาทไปในที่สุด

 

วิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหาเพื่อสันติภาพ

 

         วิธีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ การปฏิบัติธรรมทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมา ปฏิปทา หรือ “มรรค” หมายถึง ทางสายเดียว มีองค์ประกอบ ๘ อย่าง คือ

 

๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นว่าคุณความดีต่างๆมีอยู่จริง

๒.สัมมาสังกัปปะ คิดในทางที่ถูกต้อง

๓.สัมมาวาจา พูดถ้อยคำที่ไม่มีโทษ

๔.สัมมากัมมันตะ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

๕. สัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพสุจริต

๖.สัมมาวายามะ มีความเพียรพยายามในทางที่ถูกต้อง

๗.สัมมาสติ   รู้ตัวอยู่เสมอในขณะทำกิจต่างๆ

๘.สัมมาสมาธิ มีจิตใจแน่วแน่ในการทำความดี

 

          การปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาก็คือ การปฎิบัติตามหลักไตรสิกขา ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ของหลักธรรมทั้งสอง

 

คลังความรู้

bottom of page