top of page

การสวดมนต์

.

ความหมายและความเป็นมาของการสวดมนต์

 

           การสวดมนต์  คือ การสวดพรรณนาพระคุณของรัตนตรัยหรือการสวดท่องพระสูตรต่างๆที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ตาในชั้นนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการพรรณนาคุณพระรัตนตรัยที่มาของการสวดมนต์นั้นมีต้นเค้าโตรงมาจากพระสูตร ที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ว่าด้วยธรรมะหลายข้อ ข้อหนึ่งนั้นคือ  “วิมุตตายตนสูตร” คือ พระสูตรที่ว่าด้วยเหตุแห่งความหลุดพ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นจากกิเลสด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ

๑.การฟังธรรม คือ การฟังเทศน์ ฟังปาฐกถา

๒.การแสดงธรรม คือ การให้ธรรมะแก่คนอื่น

๓.การสาธยายธรรม คือ การท่องบ่น สวดมนต์

๔.ธรรมวิจัย คือ การใคร่ครวญ พินิจพิจารณาธรรม

๕.การเจริญสมาธิภาวนา คือ การทำจิตใจให้สงบ

 

         การสวดมนต์แปล

 

         การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปลรู้ความหมายนั้นย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญากล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วยเกิดสมาธิและเกิด การสวดมนต์แปล นอกจากจะช่วยให้จิตเป็นสมาธิแล้ว ผู้สวดยังเกิดปัญญาเข้าใจในเนื้อหาที่สวดด้วย

    บทสวดมนต์แปล มีดังนี้

    ๑.บทสวดนมัสการพระรัตนตรัย

              

                อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา
                พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ

  •    พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองข้าพเจ้าขออภิวาทพระ    ผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

 

               สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
               ธมฺมํ นมสฺสามิ

  •    พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)

 

                สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
                สงฺฆํ นมามิ

  •      พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

 

     ๒.บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า

 

               นโม ตสสฺ ภควโต

  •   ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์

               อรหโต

  •    ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

               สมฺมาสมฺพุทธสฺส

  •    ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (กราบ)

 

    ๓.บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ

 

                 อิติปิ โส ภควา

  •      เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

                  อรหํ

  •       เป็นผู้ไกลจากกิเลส

                  สมฺมาสมฺพุทฺโธ

  •       เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง

                  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน

  •       เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

                  สุคโต

  •       เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

                  โลกวิทู

  •       เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

                   อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ

  •       เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

                   สตฺถาเทวมนุสฺสานํ

  •       เป็นครูผู้สอน(ศาสดา)และมนุษย์ทั้งหลาย

                  พุทฺโธ

  •     เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

                ภควาติ 

  •    เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้ (กราบ)

     ๔.บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ

 

                สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม

  •    พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

               สนฺทิฏฺฐิโก

  •    เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

              อกาลิโก

  •   เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

              เอหิปสฺสิโก

  •  เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

              โอปนยิโก

  •   เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว  

               ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ 

  •   เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้(กราบ)

 

        ๕.บทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ

 

               สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

  •  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติดีแล้ว

             อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

  •  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว

              ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

  •  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

               สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

  •  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว

              ยทิทํ

  • ได้แก่ บุคคลเหล่านี้

              จตฺตาริ ปุริสยุคานิ

  •    คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่

               อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา

  •   นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ

               เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ

  •    นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

                อาหุเนยฺโย

  •    เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

                ปาหุเนยฺโย

  •    เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

                 ทกฺขิเณยฺโย

  •    เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

               อญฺชลีกรณีโย

  •    เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

                อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ 

  •    เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (กราบ)

 

             ประโยชน์ของการสวดมนต์

        ๑.จิตสงบ สดชื่น ความเกียจคร้านจะหมดไป

        ๒.ตัดความเห็นแก่ตัว เพราะขณะสวดจิตจะไปอยู่กับคำสวดทำให้ไม่คิดถึงตัวเอง

         ๓.ได้ปัญญา เพราะทำให้ทราบความหมายของบทสวด

        ๔.จิตเป็นสมาธิ

        ๕.ได้ปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า

         ๖.ได้ระลึกคุณพระรัตนตรัย

         ๗.เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา

 

            การแผ่เมตตา คือ การตั้งความปรารถนาดีหรือแผ่ความรู้สึกเป็นมิตรไปยังเพื่อนมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ได้แก่ เทวดา และสรรพสัตว์ ให้มีความร่มเย็นเป็นสุข

          การแผ่เมตตานิยมทำหลังจากสวดมนต์หรือเจริญสมาธิเสร็จ การแผ่เมตตาที่จะทำให้เกิดผลต่อการพัฒนาจิตควรแผ่เมตตาให้ตนเองก่อน แล้วจึงผาให้ผู้อื่น

   บทแผ่เมตตาที่ง่ายและเป็นที่นิยมมีดังนี้

     ๑.บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

 

         อหํ สุขิโต โหมิ

         ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข

         อหํ นิทฺทุกฺโข โหมิ

        ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์

          อหํ   อเวโร  โหมิ

         ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากเวร

         อหํ  อพฺยาปชฺโฌ  โหมิ

         ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความลำบาก

         อหํ  อนีโฆ   โหมิ

         ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากอุปสรรค

         สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ

         ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขรักษาตนอยู่เถิด

    ๒.บทแผ่เมตตาให้ผู้อื่น

        สพฺเพ สตฺตา

        สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย      ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

        อเวรา   โหนฺตุ

        จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่ามีเวรต่อกันและกันเลย

        อพฺยาปชฺฌา  โหนฺตุ

        จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

        อนีฆา   โหนฺตุ

       จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

       สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ

      จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

     ประโยชน์ของการแผ่เมตตา

      ๑.ทำให้มีใจโอบอ้อมอารี

      ๒.หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข

      ๓.ไม่ฝันร้าย

     ๔.เป็นที่รักของมนุษย์

     ๕.เป็นที่รักของอมนุษย์

     ๖.เทวดารักษา

     ๗.ไฟ ยาพิษ ศาสตราวุธไม่อาจแผ้วพานได้

     ๘.จิตเป็นสมาธิ

     ๙.สีหน้าผองใส

  ๑q.เวลาตายจะตายอย่างสงบ

    ๑๑.หากยังไม่บรรลุคุณธรรมระดับสูง  ย่อมจะไปบังเกิดในสุคติ

การแผ่เมตตา

คลังความรู้

bottom of page