top of page

พุทธศาสนสุภาษิต

         สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์)   ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต    ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง     แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ  เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

 

วิธีอ่านภาษาบาลี

 

คำในภาษาบาลี เมื่อนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้ว จะมีลักษณะที่ควรสังเกตประกอบการอ่าน ดังนี้

๑. ตัวอักษรทุกตัวที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บนหรือล่าง และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้ ให้อ่านอักษรนั้นมีเสียง "อะ" ทุกตัว เช่น

 

     อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต
      ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
      นมามิ อ่านว่า นะ-มา-มิ
      โลกวิทู อ่านว่า โล-กะ-วิ-ทู

 

๒. เมื่อตัวอักษรใดมีเครื่องหมาย  ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้แสดงว่าอักษรนั้นเป็นตัวสะกดของอักษรที่อยู่ข้างหน้า ผสมกันแล้วให้อ่านเหมือนเสียง อะ+(ตัวสะกด) นั้น เช่น

 

     สมฺมา (สะ+ม = สัม) อ่านว่า สัม-มา
      สงฺโฆ (สะ+ง = สัง) อ่านว่า สัง-โฆ

 

       ยกเว้นในกรณีที่พยัญชนะตัวหน้ามีเครื่องหมายสระกำกับอยู่แล้ว ก็ให้อ่านรวมกันตามตัวสะกดนั้น เช่น

 

      พุทฺโธ       อ่านว่า พุท-โธ

      พุทฺธสฺส    อ่านว่า พุท-ธัส-สะ
      สนฺทิฏฺฺฺฺ ฺฐิโย อ่านว่า สัน-ทิฏ-ฐิ-โย
      ปาหุเนยฺโย อ่านว่า ปา-หุ-เนย-โย

 

๓. เมื่ออักษรใดมีเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนตัวอักษร ให้อ่านให้เหมือนอักษรนั้นมีไม้หันอากาศและสะกดด้วยตัว "ง" เช่น

 

      อรหํ     อ่านว่า อะ-ระ-หัง
      สงฺฆํ     อ่านว่า สัง-ฆัง
      ธมฺมํ     อ่านว่า ธัม-มัง
      สรณํ    อ่านว่า สะ-ระ-นัง
      อญฺญํ   อ่านว่า อัญ-ญัง

 

      แต่ถ้าตัวอักษรนั้นมีทั้งเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนและมีสระอื่นกำกับอยู่ด้วย ก็ให้อ่านออกเสียงตามสระที่กำกับ + ง (ตัวสะกด) เช่น

 

     พาหุํ อ่านว่า พา-หุง

 

๔. เมื่ออักษรใดเป็นตัวนำแต่มีเครื่องหมาย ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้ด้วย ขอให้อ่านออกเสียง "อะ" ของอักษรนั้นเพียงครึ่งเสียงควบไปกับอักษรตัวตาม เช่น

 

     สฺวากฺขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต

 

ตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิต

 

  • พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง 

  • น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ : กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้

  • น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน : คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์

  • สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ : สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก

  • อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุ : ปรายนาทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

  • อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา : ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก

  • น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา : ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย

  • ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ : สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

  • ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ : ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป

  • ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา : เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน

  • น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา : เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน

  • น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ : ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้

  • สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา : สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

  • ขโณ โว มา อุปจฺจคา : ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย

  • อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว : วัยย่อมผjานพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว

  • กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา : กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง

 

ตัวอย่างวิดิโอ พุทธศาสนสุภาษิต

คลังความรู้

bottom of page