top of page

พระไตรปิฎก

ความหมายของพระไตรปิฏก

 

         พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า

     ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง

 

     ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น

 

๑.พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป
๓. พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ

 

     ความสำคัญของพระไตรปิฏก

 

         ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสทำนองสั่งเสียกับพระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไปแล้ว จะไม่ทรงตั้งภิกษุรูปใดแทนพระองค์ หากแต่ให้ชาวพุทธทั้งหลายยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ ตามพระพุทธพจน์ว่า "โย โว อานนฺท มยาธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป

         พระพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า พระธรรมวินัย ถือเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดาและเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยทั้งหลายนั้นล้วนได้ประมวลอยู่ใน พระไตรปิฏก ทั้งสิ้น

 

   อาจกล่าวได้ว่า  พระไตรปิฏก  มีความสำคัญดังนี้ 

 

๑. เป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ คือคำสั่งของพระพุทธเจ้า
๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เราสามารถเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระไตรปิฏก
๓. เป็นแหล่งต้นเดิมหรือแม่บทในพระพุทธศาสนา
๔. เป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คำสอนและข้อปฏิบัติใดๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนและข้อ

ปฏิบัติในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏก
๕. เป็นคัมภีร์ที่ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ

เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก(พุทธปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร)


        พุทธปณิธาน คือ ความตั้งพระทัยของพระพุทธเจ้าตรัสว่า ตราบใดพระพุทธศาสนายังไม่แพร่หลาย คือพุทธบริษัทิทั้ง 4 (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา)ยังไม่มีคุณสมบัติครบถ้วน พระองค์จะไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน คุณสมบัติดังก่ลาวคือ


1. ศึกษา คือศึกษา พระพุทธวจนะในพระไตรปิฎกให้เข้าใจอย่างน้อยต้องเข้าใจว่า พระพุทธศาสนาสอนอะไร หลักคำที่สอนเป็นแก่นหรือสาระสำคัญของพระพุทธศาสนาคืออะไรบ้างวิธีที่จะเข้าใจพระพุทธศสนาอย่างลึกซึ้งจะต้องปฎิบัติตามขั้นตอนแห่ง หลักพหูสูตร ทั้ง 5 ข้อคือ

- ฟังมาก คืออ่านฟังศึกษาข้อมูล รายละเอียดต่างๆให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ 


- จำได้เมื่อฟัง หรือศึกษาแล้ว ให้กำหนดจดจำให้ได้เพื่อจะได้นำไปถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจตาม


- คล่องปากประเด็นไหนมีความสำคัญมากก็ให้ท่องจนคล่องปาก ทำนองท่องบทอาขยาน


-เจนใจ นำมาขบคิดให้เกิดความเข้าใจกระจ่างในใจ จนสามารถมองเห็นภาพในใจ เวลาอธิบายให้คนอื่นเข้าใจก็อธิบายได้ทันที


- ประยุกต์ใช้เป็น คือนำเอาสิ่งที่ได้ศึกษา จำได้ ท่องคล่องปาก และเข้าใจชัดเจนนั้นมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบบัน


2. ปฏิบัติ คือต้องนำเอาทฤษฎี ความรู้นั้นมาปฏิบัติตนจนได้รับผลจากการปฏิบัติด้วย เช่น เมื่อทราบว่าพระพุทธศาสนาตำหนิการพนันว่าเป็น อบายมุข (ทางแห่งความเสื่อม)ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่มัวเมาหมกหมุ่น ในอบายมุข เป็นต้น


3. ชี้แจง คือสามารถนำไปถ่ายทอด ให้คนอื่นเข้าใจด้วยทำหน้าที่เป็น มัคคุเทศก์ ชี้ทางเดินแก่คนอื่นว่า ทางนี้เป็นทางเสื่อมไม่ควรเดินตาม ทางนี้เป็นทางแห่งความเจริญควรดำเนินตามคำสอนคำชี้แจงของผู้ที่ทำได้ตามสอน ย่อมมีความศักสิทธิ์หรือมีน้ำหนักควรฟังและปฏิบัติตาม


4. ปกป้อง คราวใดมีผู้จ้วงจาบให้ร้ายป้ายสีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์หรือพระพุทธศาสนาโดยรวมไม่ว่าจะเกิดจากพุทธบริษัทที่หลงผิด หรือจาการเบียดเบียนรังแกจากศัตรูภายนอกก็ตาม พุทธศาสนิกชนพึงร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขให้ความเข้าใจผิดๆนั้นให้ควมขัดแย้งนั้นลุลาวงไป ไม่ปล่อยให้คาราคาซังโดยคิดว่าธุระไม่ใช่เป็นอันขาดล

คลังความรู้

bottom of page