top of page

เศรษฐกิจพอเพียงกับแนวทางดำรงชีวิต     ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 

        คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" หมายถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นกำไรสุทธิหรือความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด เป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเราทรงดำริขึ้นมาเพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤษตเศรษกิจให้กับสังคมไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ "การที่พึ่งตนเองได้"

         เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ใช้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาหลายประการ ดังนี้

 

๑. หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง ( อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)

๒. หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา)

๓. หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ)

๔. หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา)

๕. หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)

๖. หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ)

คลังความรู้

bottom of page