top of page

หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย

              ประชาธิปไตย  เป็นระบบการปกครองหนึ่งซึ่งยึดถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ หลักการพื้นฐานที่สำคัญของประชาธิปไตย ประกอบด้วย

 

  • หลักการแห่งสารีภาพ คือ การกระทำใดๆ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย เช่น ในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมชนโดยสงบ

  • หลักการแห่งความเสมอภาค คือ ความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม เช่น อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ได้รับการปฏิบัติดูแลจากรัฐภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน

  • หลักแห่งภราดรภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม เช่น ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด มีฐานะอย่างไร นับถือศาสนาอะไร ในสังคมประชาธิปไตยก็สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน 

ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
 

 

      ๑. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย

 

      ๒. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป

 

     ๓. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน

 

    ๔. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้นฃ

 

   ๕. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล

 

 

    ๖. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี

 พระพุทธศาสนาใช้หลักธรรมาธิปไตย ควบคู่ไปด้วย นั่นคือ ความมีคุณธรรม ความถูกต้องเป็นใหญ่ในทุกกรณี หมายความว่า นอกจากเสียงส่วนใหญ่แล้วจะเห็นพ้องตรงกันแล้ว สิ่งนั้นจะต้องยึดธรรมะ หรือ ความถูกต้อง ความมีคุณธรรมด้วย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้สังคมมีความสงบสุขอย่างแท้จริง

.

คลังความรู้

bottom of page