top of page

การเจริญปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ

        โยนิโสมนสิการ คือ  การทำในใจให้แยบคายวิธีคิดอย่างรอบคอบ โดยสืบค้าหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุแยะแยกจนสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุปัจจัยกับผลที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการแห่งการใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา

 

         วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการมีหลายวิธีที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งกำจัดอวิชชาและบรรเทาตัณหาไปพร้อมกันได้ แบ่งได้ ๑๐ วิธี กล่าวคือ
   

    ๑. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
     ๒. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
     ๓. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์
     ๔. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือคิดแบบแก้ปัญหา
     ๕. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์
     ๖. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก
     ๗. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม
     ๘. วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม
     ๙. วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน
     ๑๐. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

 

      ๑.วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ

  

                 วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ คือ วิธีคิดแบบไตรลักษณ์

                ไตรลักษณ์ แปลว่า สามัญลักษณะหรือลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง ๓ ประการ ได้แก่

        ๑.อนิจจตา ๒.ทุกขตา ๓.อนัตตตา

             ๑.อนิจจาตา เป็นภาษาบาลี แปลว่า ความไม่เที่ยง  

       

         ตัวอย่างในแง่ของมนุษย์

             เช่น มนุษย์ในสภาพเบื้องต้นจากการเป็นเด็กทารกแล้วเติบโตจนเป็นวัยผู้ใหญ่

     

          ตัวอย่างในแง่สิ่งไม่มีชีวิต

            เช่น บ้านหลังนี้เมื่อสร้างเสร็จทาสีสวยงาม ครั้นเวลาผ่านไปกลายเป็นบ้านเก่า

         

             ๒.ทุกขตา หรือ ทุกข์ ความหมายถึง ความคงทนอยู่ไม่ได้ อันเนื่องมาจากความไม่สมบูรณ์ในตนเอง มนุษย์คนเราไม่สามารถบังคับให้คงอยู่สภาพเดิมอยู่ได้ เพราะร่างกายล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง

           เช่น  จากผมดำกลายเป็นผมหงอก

            ๓.อนัตตตา แปลว่า ความไม่ใช่ตัวตนและความไม่มีตัวตนที่แท้จริง ความไม่ใช่ตัวตนในแง่มนุษย์ ดูได้จากร่างกายของมนุษย์ว่าเกิดขึ้นมาจากการประกอบกันของอวัยวะ เช่น แขน ขา ศีรษะ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  “สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้น (จึง)มิใช่ตัวตนที่แท้จริงของเรา”

         

              ๒.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน

                 

               วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน หมายถึง วิธีคิดเฉพาะเรื่องปัจจุบัน ไม่ไปยึดติดและใส่ในในเรื่องของอดีตที่มันผ่านมาแล้ว และไม่พะวงถึงอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น

เช่น กำลังอ่านหนังสืออยู่ใจก็จะอยู่ที่หนังสือไม่คิดเรื่องอื่น

วิธีการฝึกสติเพื่อการเจริญปัญญา

คลังความรู้

bottom of page