top of page

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พระรัตนตรัย

                       พระรัตนตรัย หรือ พระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน[1] ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี

 

          พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก่

·         พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระวินัย

·         พระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

·         พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย

 

                       พระรัตนตรัย หมายถึง สิ่งเคารพสูงสุดของชาวพุทธ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนะทั้ง 3 นี้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ต่อชาวพุทธ ดังนั้นเราจึงควรศึกษาและระลึกถึงด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

 

ความหมายของสังฆะ

 

                      สังฆะ  หมายถึง  พระสงฆ์  ตามหลักพระพุทธศาสนา  พระสงฆ์  หมายถึง  พระภิกษุที่ได้บวชถูกต้องตามพระธรรมวินัย คำว่า  พระ  มาจากคำภาษาบาลีว่า  วร  (อ่านว่า  วะ-ระ)  แปลว่า ประเสริฐ  ส่วนคำว่า  ภิกษุ  แปลว่า ผู้เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด  คือ  เมื่อเห็นภัยก็หนีภัยโดยการออกบวชและประพฤติปฏิบัติธรรม
พระสงฆ์ยังมีความหมายตามพระวินัย  อีกประการหนึ่ง  ซึ่งหมายถึง  พระภิกษุที่อยู่รวมกัน  4  รูปขึ้นไป  เรียกว่า  สงฆ์  สามารถประกอบสังฆกรรม  หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นพระสงฆ์ที่สมบูรณ์ได้  เช่น การลงอุโบสถเพื่อฟังสวดปาติโมกข์การรับกฐินที่มีคนนำมาถวาย  การให้อุปสมบทแก่ผู้ที่ตั้งใจจะเข้ามาสู่ศาสนา  เป็นต้น  ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะต้องกระทำด้วยคณะสงฆ์มีจำนวนไม่น้อยกว่า  4  รูป

 

 ขันธ์ 5 ก็คือ รูป จิต และเจตสิก นั่นเอง
                

                     การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ ศึกษา จิต-เจตสิกหน้าถัดไป

 

                     ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ

1.  รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต

2.  เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ

3.  สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ

4.  สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ

5.  วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

 

ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม

 

 

 

 

 

                   

 

                                                        ตัวอย่างบทสวดพระรัตนตรัย

คลังความรู้

bottom of page